เลสิค มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 Dr. Barraquer เป็นผู้แรกที่คิดค้นเครื่องมือแยกชั้นกระจกตาเพื่อรักษาภาวะสายตาสั้น และสายตายาว โดยการทำผ่าตัดแยกชั้นกระจกตา นำชั้นกระจกตาที่แยกได้ไปฝน แล้วนำมาเย็บกลับเข้าที่เดิม เป็นการผ่าตัดที่เรียกว่า Keratomileusis ซึ่งในขณะนั้น เครื่องมือมีความซับซ้อนมาก ผลการรักษาก็ยังไม่แม่นยำเท่าที่ควร สำหรับในประเทศไทย ทีมจักษุแพทย์ของ TRSC International LASIK Center เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิค ในประเทศไทย นำโดย นายแพทย์ เอกเทศ ชันซื่อ ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ไทยคนแรกที่ทำการรักษาด้วยวิธีเลสิค เริ่มทำการรักษาวิธีเลสิคครั้งแรกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในปี พ.ศ. 2537
เลสิค ( LASIK : Laser In-Situ Keratomileusis)
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
แยกชั้นกระจกตา | เปิดกระจกตาค้างไว้ | เลเซอร์ปรับเปลี่ยน ความโค้งกระจกตา |
ปิดกระจกตากลับ เข้าที่เดิม |
เลสิค เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ) แบบถาวร โดยใช้ เครื่องแยกชั้นกระจกตา Microkeratome แยกชั้นกระจกตาให้มีความหนาประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของกระจกตาทั้งหมดแล้วใช้ Excimer Laser ขัดเนื้อกระจกตาชั้นกลาง เพื่อเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาโดยรวมแล้วจึงปิดผิวกระจกตาเข้าที่เดิม
การเตรียมตัวก่อนมารับการรักษาเลสิค
หากท่านคิดว่าเลสิค อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการพึ่งพาแว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์ของท่าน TRSC ขอแนะนำให้ท่านเข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียดเพื่อรักษาเลสิค ซึ่งมีความสำคัญ สองประการ คือ ประการแรก เพื่อพิจารณาว่าท่านเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการรักษาเลสิค หรือไม่ ประการที่สอง เพื่อพิจารณาว่าดวงตาของท่านมีสุขภาพตาสมบูรณ์ มีโรคใดๆ หรือไม่ ทั้งนี้ก่อนทำการรักษาเลสิค สำหรับท่านที่ใส่คอนแทนเลนส์ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ สำหรับท่านที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard Lens) หรือชนิดกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม (Semi Hard Lens) ควรงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 14 วันก่อนตรวจ ทั้งนี้ คนไข้สามารถใช้แว่นสายตาแทนในระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์ รายละเอียดการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเลสิค
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี เลสิค
- เลสิค เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติอย่างถาวร
- ใช้เวลาในการผ่าตัดและการพักฟื้นสั้น แผลหายเร็ว
- สามารถมองเห็นได้ทันทีหลังการผ่าตัด แต่อาจจะยังไม่คมชัดเต็มที่ในวันแรก
- ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแต่ใช้ยาชาหยอดตา และไม่มีการเย็บแผล
- กลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่่าตัด
เลสิคกับการเพิ่มคุณภาพชีวิต
- เลสิคเปิดอิสระแห่งการมองเห็น ลดการพึ่งพาแว่นและคอนแทคเลนส์
- เลสิคเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพบางอาชีพ เช่น นักบิน แอร์โฮสเตส ทหาร ตำรวจ เป็นต้น
- เลสิคเพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับแว่นหรือคอนแทคเลนส์
- เลสิคเพิ่มความคล่องตัวในการประกอบกิจกรรม งานอดิเรกหรือกีฬา โดยเฉพาะกีฬา ทางน้ำ และกีฬากลางแจ้ง
- เลสิคเสริมสร้างบุคลิกภาพ
ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธีเลสิค
- มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และมีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
- ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรค SLE ,โรค Sjogren's หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขาดภูมิคุ้มกัน
- ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- มีความเข้าใจถึงการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิคอย่างละเอียด และมีความคาดหวังที่ถูกต้อง
ประสบการณ์การรักษาด้วยวิธีเลสิค
หมายเหตุ : เลสิค เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิดและสายตาเอียง ผู้ที่มีปัญหาสายตายาวตามอายุสามารถรักษาได้ด้วยวิธี Near Vision LASIK หรือ NV LASIK