ในคนไข้บางรายที่แพทย์พิจารณาแล้ว สรุปว่าสามารถทำผ่าตัดรักษาสายตาได้โดยที่ไม่มีข้อห้าม แต่มีภาวะบางอย่างซึ่งไม่เหมาะสมกับการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิค (LASIK) แพทย์อาจจะเสนอการผ่าตัดด้วยวิธี PRK แทน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลอกผิวกระจกตาที่อยู่ ด้านนอกสุดออก |
มีลักษณะคล้ายผิวถลอก | ใช้ Excimer Laser ปรับ แต่งความโค้งของ ผิวกระจกตาโดยตรง |
ปิดกระจกตาด้วย คอนแทคเลนส์ แบบไม่มีค่าสายตา |
PRK คืออะไร
PRK เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง) แบบถาวรวิธีหนึ่ง โดยการลอกผิวกระจกตาที่อยู่ด้านนอกสุด (ที่เรียกว่า Epithelium) ของกระจกตาออกก่อน ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายผิวถลอก แล้วใช้ Excimer Laser ปรับแต่งความโค้งของผิวกระจกตาโดยตรง วิธีนี้เป็นวิธีที่มีมาก่อนเลสิค หลายสิบปี และยังใช้จนถึงปัจจุบัน
จะทำ PRK ในกรณีใด แพทย์จะพิจารณาทำ PRK ในคนไข้ที่สายตาสั้น และเอียงไม่เกิน 800 แต่กระจกตาบาง
- มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย หรือมี Recurrent Erosion
- มีภาวะตาแห้งกว่าปกติและรักษายาก
- เหตุผลทางอาชีพ เช่น สอบเป็นนักบิน
- ผู้ที่เป็นโรคต้อหินในบางราย ซึ่งแพทย์เฉพาะทางต้อหินพิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาสายตาผิดปกติได้
- ผู้ที่มีความโค้งกระจกตาผิดรูปไม่เหมาะที่จะแยกชั้นกระจกตา
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี PRK
- เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติอย่างถาวร
- มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย
- ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแต่ใช้ยาชาหยอดตา และไม่มีการเย็บแผล
- กลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่่าตัด
PRKกับการเพิ่มคุณภาพชีวิต
- PRK เปิดอิสระแห่งการมองเห็น ลดการพึ่งพาแว่นและคอนแทคเลนส์
- PRK เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพบางอาชีพ เช่น นักบิน แอร์โฮสเตส ทหาร ตำรวจ เป็นต้น
- PRK เพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับแว่นหรือคอนแทคเลนส์
- PRK เพิ่มความคล่องตัวในการประกอบกิจกรรม งานอดิเรกหรือกีฬา โดยเฉพาะกีฬา ทางน้ำ และกีฬากลางแจ้ง
- PRK เสริมสร้างบุคลิกภาพ